Afleveringen

  • เมื่อเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความไม่รู้ ให้ใคร่ครวญธรรมโดยการพิจารณาปัจจัยในภายใน เข้าใจเหตุให้ถูกต้องจะสาวไปถึงปัจจัยต้นตอเงื่อนไขของมันได้ ตามระบบอริยสัจ4 และลงมือปฏิบัติตามมรรค8 ซึ่งมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างเป็นหลัก แต่ถ้าเราหลงไปยึดถือ เกิดความรู้สึกและตัณหามากมายรวมเรียกว่า อุปธิ ก็จะพาให้ทุกข์ จึงต้องมีสติตั้งไว้เสมอ ไม่ตามตัณหาไป เห็นในความเป็นอนัตตา เห็นโทษของมัน ใช้หลักธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญให้ถูกทาง ต้องมาจบที่มรรค 8 และควรทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งเป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • สร้างฐานให้จิตด้วยการระลึกถึงพุทโธ คือเจริญพุทธานุสติซึ่งสงบชั่วคราว ดังนั้นพอจิตเป็นสมาธิแล้วก็มาเจริญธรรมานุสติด้วย โดยการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีทั้งรสอร่อยและโทษ โทษจากความเพลิดเพลิน พอใจไปในรสอร่อยคือมีอุปทานขันธ์ และยึดเอาไว้ รู้แล้ววาง ไม่ยึดถือ เพราะไม่เที่ยง แปรปรวนเป็นทุกข์

    อุบายที่จะนำออกจากความยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ มรรค8 เป็นทางออกให้เห็นตามความเป็นจริง


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • Zijn er afleveringen die ontbreken?

    Klik hier om de feed te vernieuwen.

  • หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติคือเพื่อไม่ยึดถือ เริ่มการปฏิบัติได้โดยตั้งสติและมีศีลเป็นพื้นฐาน ตั้งสติเอาไว้ให้เห็นจิตในจิต เห็นการปรุงแต่งของจิต สติจะระงับจิตตสังขารลงเรื่อยๆ ทำจิตให้สงบด้วยสติ เมื่อจิตที่เป็นประภัสสร พบว่าแม้แต่จิตก็เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เร้าทั้งมรรคและสมุทัย เห็นตามความเป็นจริงช้อนี้คือเรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงเพราะการปรุงแต่ง เกิดวิชชาหยุดอวิชชาด้วยอนัตตาเป็นประตูสู่นิพพาน

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อยลง น้อยลง จึงนำมาซึ่งความเจริญได้ อย่างนี้นั่นเอง

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละความยึดถือได้ ดับเหตุแห่งทุกข์ ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 สุดทางนี้มันคือทางให้พ้นจากความทุกข์นั้นคือนิพพาน

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6

    ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใส

    และใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราตั้งสติไว้ จะข้ามสังสารวัฏนี้ไปให้ถึงนิพพาน พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ไม่ควรยึดสิ่งใดๆแล้ว


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้นจากความทุกข์ได้ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในกาย เห็นความไม่เที่ยงได้

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้รู้ถึงความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุข

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • เมื่อเราพบปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง นั่นแหละคือโอกาสให้เกิดความสุข กำลังใจ ความหวัง โดยการเจริญพุทธานุสติระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในด้านความเพียรและการใช้ปัญญาบนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐานและหลักมัชฌิมาปฏิปทา เห็นอริยสัจ 4 นั่นคือหนทางสู่ความสำเร็จ โอกาสที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในช่วงที่ได้ฟังธรรมะคำสอนของพระองค์เป็นเรื่องยากมาก หากเราได้มีโอกาสพบความมหัศจรรย์ 3 อย่างนี้ หนทางความสำเร็จยังเปิดอยู่ ให้เร่งความเพียร ความสำเร็จเกิดได้ด้วยการมีศรัทธา วิริยะปฏิบัติตามแนวทางอริยมรรคมีองค์ 8 คือ ศีล สติสมาธิ ปัญญา ทางแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุทั้ง4 (ดินน้ำไฟลม) มีการรับรู้คือวิญญาณ ทำให้เราตอบสนองในรูปแบบการกระทำ ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มากระทบ ผ่านทางอินทรีย์ต่างๆเหล่านั้น เมื่อเกิดความเพลิน ความพอใจไปในสิ่งใดนั้นๆ เราจะยึด และทำให้เกิดทุกข์ แก้ไขด้วยการตั้งสติโดยเจริญกายคตาสติ ผ่านธาตุทั้งสี่คือ ลมไฟน้ำดิน เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญาเห็นทางออกของปัญหา คือการไม่ยึดถือ ก็จะไม่ทุกข์ ดังนั้นเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มาก เป็นอานิสงส์ไพศาล เป็นความเคยชินที่เป็นกุศล สะสมเป็นอาสวะที่ดีงาม สู่เส้นทางนิพพาน

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • “สติ” เป็นองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เราหลุดออกจากทุกข์ในวัฏฏะของความแก่ ความเจ็บ ความตายได้ และเป็นทักษะที่ฝึกได้ ด้วยการระลึกถึงคุณของพุทโธ ธัมโม สังโฆ จะช่วยทำให้จิตเราตั้งอยู่ในกุศลธรรม ปัญญา ความเพียร ความอดทน ต่างๆ จะมาครอบงำจิตใจของเรา และทำให้อกุศลธรรมออกไป เมื่อมีสติอย่างต่อเนื่อง เกิดสัมมาสมาธิ และปัญญามองเห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเรื่องปกติ เห็นความไม่เที่ยง ทั้งกาย เวทนา ความรู้สึก ความคิดต่างๆ รวมถึง จิตก็ไม่ใช่เรา เห็นอย่างนี้แล้ว วางความยึดถือ ยึดมั่น ด้วยสติ เกิดความรู้ คือ เกิดวิชชา อวิชชาก็ดับ

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ยึดจิตเป็นตัวตนไม่ดีเลย ให้จิตของเราอยู่ที่โสตวิญญาณ เอาสติมาจับไว้ อย่าเอาจิตไปไว้ที่อายตนะทั้ง6 อย่าไปตามความรู้สึกเวทนา ให้จิตตั้งอยู่กับโสตวิญญาณ ระลึกถึงตรงนี้อยู่เรื่อยๆ คือมีสติ

    ความคิดนึก สัญญา สังขาร เวทนามีได้ แต่ไม่ตามไป ให้จิตมาอยู่กับการฟัง ให้เข้าใจธรรมะ ไม่เผลอไม่เพลิน ให้ใคร่ครวญโดยที่มีสติสัมปัญชัญญะอยู่ สิ่งใดที่เป็นนามธรรมทั้งหลายจะซ่อนหลบในกายนี้ ซึ่งกายเป็นการประชุมลงของธาตุทั้งสี่ ประกอบกันมาเป็นตัวเรา จิตเข้าไปยึดถือและเกิดการปรุงแต่ง ยึดถือกายเพราะเป็นรูปที่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนกว่าจิต แต่จิตเองก็ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดถือเป็นของเรา เห็นความเป็นอนัตตา


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • กิเลสเกิดแต่จิต ในใจเราเองไม่ใช่จากสิ่งภายนอก ซึ่งราคะโทสะโมหะทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ โดยมีผัสสะเข้าสู่ช่องทางอายตนะทั้ง6 ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกายและใจ ผ่านวิญญาณการรับรู้ เกิดเวทนาเขื่อมด้วยตัณหา มากระทบจิตมีการปรุงแต่งและตอบสนองแตกต่างกันไป ตามอาสวะที่สั่งสมมา ตั้งสติด้วยการกำหนดอานาปานสติ อาจเผลอลืมลมบ้างก็ให้กลับมากำหนดเอาไว้ที่เดิม ทำอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรยึดตามทางสายกลาง สติจะมีกำลังมากขึ้น เกิดสมาธิและปัญญาตามมา ใส่วิชชาและสัจจะเข้าไป ปราศจากอวิชชา ตัณหาและอาสวะดับ กิเลสสิ้นไป

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วยการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปักเป็นยอดธงเอาไว้ และปราศจากวิจิกิจฉา สติห่อหุ้มจิตเป็นเยื่อบางๆ ไว้ ไม่แปดเปื้อนกับผัสสะ สติมีกำลัง ความระงับของอายตนะค่อยๆ เกิดขึ้น เกิดอารมณ์อันเดียวเพื่อให้จิตเราเจริญสติปัฏฐาน4 และพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ด้วยหนทางเครื่องไปทางเดียวคือ มรรค8 เกิดสัมมาสมาธิ

    จิตจะเห็นตามความเป็นจริง ความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วยปัญญาแทงตลอด ละกิเลส ละอาสวะ ทำนิพพานให้แจ้งได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • จิตเราสามารถฝึกได้ เริ่มจากการตั้งสติด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เกิดสมาธิภาวนา 4 ประเภท ไล่จากเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อความสุขสงบในธรรม ภาวนาชนิดที่นำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตเกิดญาณทัสสนะ

    เห็นตามความเป็นจริง เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นภาวนาชนิดที่ให้สิ้นอาสวะ โดยการปฏิบัติมี 4 รูปแบบ คือการใช้สมถะเป็นเบื้องหน้าเป็นตัวนำแล้วเจริญวิปัสสนาให้ครบถ้วนขึ้นมาในลักษณะที่ทำให้อาสวะสิ้นไป รูปแบบที่ 2 คือวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าเป็นตัวนำ เอาสมถะตามมาให้ครบถ้วนในลักษณะที่ทำให้อาสวะสิ้นไป รูปแบบที่ 3 คือให้สมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป รูปแบบที่ 4 คือทำจิตให้ประภัสสรเป็นอารมณ์อันเดียวเห็นในความเป็นของไม่เที่ยง กำจัดความฟุ้งซ่านในธรรม ละอาสวะได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • ระบบความเพียรมีอยู่ 2 อย่างคือ ระบบความเพียรที่ไร้ผลคือการหาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ และเพลิดเพลินยินดีในความสุข ระบบความเพียรที่มีผลคือระบบของการประพฤติพรหมจรรย์ คือทางสายกลาง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา แจกแจงออกได้เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง มีสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น การสำรวมอินทรีย์ คบกัลยาณมิตร ประมาณในการบริโภค การอ่านหนังสือธรรมะ ความอยู่อย่างสันโดษ เสริมให้การปฏิบัติดีขึ้น ฝึกอานาปานสติระลึกรู้ถึงลมหายใจคือมีสติ ใช้ปัญญาเห็นกุศลธรรมเพิ่มขึ้น อกุศลธรรมลดลง เกิดความยินดี มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในทุกทิศทาง

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  • มีสติอยู่กับลมหายใจ เกิดสัมมาสมาธิและเจริญพรหมวิหารสี่ตั้งไว้ในใจของเรา เมตตาหมายถึงความรักและปรารถนาดี กรุณาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ มุทิตาหมายถึงความยินดีพอใจที่ได้พ้นจากความทุกข์หรือมีความสุข อุเบกขาคือความวางเฉยทั้งความสุขและความทุกข์เพราะเอาจิตจดจ่อตั้งไว้อยู่กับสมาธิ จากนั้นแผ่ไปทุกทิศ ไม่เว้นใคร ไม่มีขอบเขต เราไม่มองใครเป็นศัตรู ตนเองเป็นเสาอากาศตั้งแต่สมองศีรษะจนถึงพื้นเท้า เนื้อเยื่อทุกส่วนกระดูกทุกชิ้นให้แผ่กระแสไปถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย ปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตให้มากอย่างสม่ำเสมอจะเกิดอานิสงส์ 11 อย่าง 1.หลับเป็นสุข 2.ตื่นเป็นสุข 3.ไม่ฝันร้าย 4.เป็นที่รักของมนุษย์ 5.เป็นที่รักของพวกอมุษย์ 6. เทพยาดารักษา 7.ไฟ ยาพิษหรือศาสตรา ไม่ทำอันตราย 8. จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว 9.มีสีหน้าผุดผ่อง 10. ไม่หลงใหลทำกาละ 11.เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมอันวิเศษทียิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.